Free to Play: โมเดลธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอุตสหกรรมเกมไปตลอดกาล
- Sirapat Sam
- 13 ม.ค. 2564
- ยาว 1 นาที

ถ้าเราพูดถึงขนาดของอุตสหกรรมสื่อบันเทิง(Entertainment Industry) หลายคนคงจะคิดว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของแผนภูมิต้องเป็น ภาพยนต์ ซีรีย์หรือไม่ก็เพลง เเต่รู้หรือใหม่ว่าจริงๆเเล้ว ทั้งสองอย่างที่กล่าวมาข้างต้นรวมกันยังไม่เท่ากับขนาดของอุตสหกรรมเกมเลย* !! นั้นทำให้อุตสหกรรมเกมเป็นตลาดที่สำคัญมากในตลาดของสื่อบันเทิงทั้งหมด
วันนี้ ThaiTechTalk จึงอยากมาพูดถึงโมเดลธุรกิจหนึ่งที่เกิดขึ้นมาจากเกมชื่อดังอย่าง League of Legend ที่ส่งผลกับอุตสหกรรมเกมออนไลน์อย่างมากเเละได้จุดฉนวนให้ตลาดนี้มีการเติบโตก้าวกระโดดมาจนถึงทุกวันนี้ จะเป็นอย่างไร เชิญอ่านได้เลยคับบ
ย้อนกลับไปในช่วง 1981-2006 ถ้าพูดถึงโมเดลธุรกิจของอุตสหกรรมเกมนั้น จะค่อนข้างตรงไปตรงมานั้นก็คือ ผู้ผลิตเกมนั้นจะลงทุนสร้างเกมขึ้นมาจากนั้นจึงจัดวางจำหน่ายในรูปของแผ่นซีดี/ตลับเกม หรือซอฟท์ดาวโหลด ตามเเต่ยุคสมัยโดยส่วนมากจะเป็นเกมออฟไลน์(เล่นโดยไม่ต้องใช้อินเตอร์เน็ต)ซึ่งผู้เล่นจะจ่ายเงินเพื่อซื้อเกมครั้งเดียวเเละเล่นได้ตลอดไป เเต่มาในช่วงหลังปี 2007 นับเป็นช่วงที่เกมออนไลน์(เกมที่เล่นได้หลายคนพร้อมกันผ่านอินเตอร์เน็ต)ข่อนค้างเเพร่หลาย สองหนุ่มผู้คลั่งไคล้ในเกมจากอเมริกานามว่า แบรนดอน เบค เเละ มาร์ค เมอริล เล็งเห็นถึงโมเดลธุรกิจหนึ่งที่กำลังเป็นกระเเสมากในกลุ่มเกมออนไลน์ที่ประเทศโซนเอเชีย อย่างเกาหลี โดยใช้ชื่อว่า "Free to Play" โดยเป็นการประยุกต์ Freemium model* กับธุรกิจเกม นั้นคือผู้เล่นจะสามารถเกมเหล่านี้ได้ฟรี โดยสามารถดาวน์โหลดมาจากเว็บไซต์ โดยผู้ผลิตเกมจะสร้างเงินจากการที่ผู้เล่น ซื้อฟังค์ชั่นเพิ่มเติมจากเกมอธิเช่น ซื้อไอเทม ปดล๊อคด่าน หรือสิทธิพิเศษต่างๆในเกม เเทนซึ่งทั้งคู่จึงมีไอเดียที่จะอยากนำโมเดลธุรกิจนั้นมาสร้างเกม เเละเผยเเพร่ในฝั่งอเมริกา โดยทั้งภายหลังจากทั้งคู่คิดไอเดียของตัวเกมเเละเเนวทางการทำเงินได้เเล้วนั้น ทั้งคู่ก็ต้องพบการความยากลำบากในการหาเงินทุน เพราะขณะนั้นนักลงทุนที่เข้าใจอุตสหกรรมเกมจะมีน้อยมากเเล้ว ประกอบกับการที่โมเดล Free to Play ขณะนั้นค่อนข้างฟังดูเเย่เมื่อเทียบกับการขายแผ่นเกม ซึ่งได้กำไรต่อชิ้นที่สูงกว่า(High margin)เเละได้เงินคืนเร็ว(Low Cash conversion cycle) เเต่ทว่านั้นก็ไม่ทำให้ทั้งสองคนย่อท้อต่ออุปสรรคเเละในทั้งสุดก็มีนักลงทุนที่กล้าที่จะเสี่ยงกับไอเดียนี้ เเละทำให้เกมที่มีชื่อว่า League of Legend เกิดขึ้น ซึ่งถ้าคุณ
เคยเล่นเกมหรือเป็นคอเกมมาก่อน คุณคงรู้ว่าภายหลังจากนั้น League of Legend ก็กลายเป็นหนึ่งในเกมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เเละโดยสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ โดยเเค่ในปี 2018 บริษัทสามารถสร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว !! เเละโมเดลธุรกิจ Free to Play ก็ถูกใช้อย่างเเพร่หลายมาจนถึงเกมชื่อดังๆปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น Fortnite , DOTA2 , PUBG , หรือเกมยอดฮิตในประเทศไทยอย่าง ROV
ซึ่งถ้ามาดูว่าทำไม free to play model จึงประสบความสำเร็จในอุตสหกรรมเกมได้ เราลองมาวิเคราะห์จากกรณีเกม League of Legend ข้างต้นกันคับ
1.) เนื่องจากโมเดลนี้ผู้เล่นไม่ต้องเสียเงินในการซื้อเกมเเต่ต้น จำนวนผู้เล่นที่เข้ามาลองจึงเพิ่มขึ้นอย่างง่ายดายส่งผลมีจำนวนผู้เล่นที่ติดใจเเละเล่นเกมต่อเเละมีโอกาศจ่ายเงินให้กับเกมมีมากขึ้นนั้นเอง
2.) เนื่องจากอุตสหกรรมเกมเอนเอียงไปในทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้เกมนั้นนอกจากจะสร้างความสนุกให้กับผู้เล่น ตัวเกมยังสามารถสร้างมูลค่าจากสังคมในเกมจากสังคมออนไลน์ได้อีกด้วย นึกง่ายๆก็คือถ้าผู้เล่นอยากซื้ออาวุธ หรือชุดในเกม นั้นก็เพราะเขาสามารถไปโชว์กับคนอื่น เช่นเดียวกับการที่คุณอยากซื้อเสื้อตัวใหม่ นาฬิกาเรื่อนใหม่ไปโชว์คนอื่นๆในชีวิตจริงนั้นเอง ซึ่งทั้งนี้เองจึงทำให้ผู้เล่นยอมที่จะจ่ายเงินเพิ่มจากตัวเกมนั้นเอง ซึ่งในบางทีผู้เล่นยอมที่จะจ่ายมากกว่ามูลค่าของตัวเกมเสียอีก !!
จะเห็นได้ว่าโมเดลธุรกิจ Free to Play นี้ถ้านำมาปรับใช้ดีๆ กับความสามารถในการออกแบบเกมให้น่าดึงดูด น่าเล่น (ทั้งเรื่องราว รูปแบบการเล่น สังคม ecosystemของเกม ) ก็จะสามารถเปลี่ยนจากธุรกิจที่สร้างเงินแบบธรรมดาให้เติบโตแบบก้าวกระโดดแบบน่าเหลือเชื่ออย่างเช่นที่เกิดขึ้นกับเกม League of Legend นั้นเอง !!
เขียนโดย Sam
(* Freemium model คือโมเดลธุรกิจที่ผู้ใช้สามารถใช้บริการสินค้าหรือเว็บไซต์ได้ฟรี โดยสามารถที่จะจ่ายเงินเพิ่มเพื่อที่จะได้ความสะดวกสะบายมากขึ้นหรือความสามารถที่มากขึ้น อธิเช่นแอปอย่าง Zoom , Spotify , DropBox เป็นต้น )
(**เกม : 181.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ , หนัง : 88.92 พันล้านเหรียญสหรัฐ , เพลง 62 พันล้านเหรียญสหรัฐ ข้อมูลจาก https://findanyanswer.com)
อ้างอิง
Comments